เมนู

ภิกษุเข้าไปตั้งกายคตาสติไว้แล้ว สำรวมแล้วใน
ผัสสายตนะ 6 มีจิตตั้งมั่นแล้วเนือง ๆ พึงรู้นิพพาน
ของตน.

จบโกลิตสูตรที่ 5

อรรถกถาโกลิตสูตร



โกลิตสูตรที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กายคตาย สติยา ความว่า มีสติอันไปในกาย คือมีกาย
เป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจกายานุปัสสนา. บทว่า สติยา นี้ เป็นตติยาวิภัตติ
ใช้ในลักษณะอิตถัมภูต. ภายในตนชื่อว่าอัชฌัตตะ ในบทว่า อชฺฌตฺตํ นี้.
เพราะฉะนั้น จึงมีความว่า ในตน คือในสันดานของตน. อีกอย่างหนึ่ง
พึงทราบเนื้อความของบทว่า อชฺฌตฺตํ ว่า โคจรชฺฌตฺตํ เพราะท่านประ-
สงค์เอาประชุมส่วนทั้ง 32 มีผมเป็นต้น อันเป็นตัวกรรมฐาน ว่ากาย
ในที่นี้. บทว่า สุปติฏฺฐิตาย ความว่า ปรากฏด้วยดีในกาย อันเป็น
ภายในตน หรืออันเป็นภายในอารมณ์. ถามว่า ก็สติที่ท่านกล่าวว่า
ปรากฏด้วยดีภายในตน คืออะไร ? ตอบว่า คือ สติอันปรากฏในกายด้วย
อำนาจอุปจาระและอุปปนาของพระโยคีผู้ยังปฏิกูลมนสิการให้เป็นไปใน
อาการ 32 มีผมเป็นต้น อันเป็นภายในที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่ากาย
โดยนัยมีอาทิว่า ผม ขน มีอยู่ในกายนี้นั้น ท่านเรียกว่า กายคตาสติ. ก็
กายคตาสตินี้ฉันใด สติอันปรากฏในกายด้วยอำนาจอุปการะและอัปปนา
ตามควรของพระโยคีผู้ยังมนสิการให้เป็นไปด้วยอำนาจสติสัปชัญญะใน

อานาปานะ และอิริยาบถ 4 และด้วยอำนาจอุทธุมาตกอสุภะ และวินีลก-
อสุภะเป็นต้น ก็เรียกว่ากายคตาสติฉันนั้น. ก็ในที่นี้ กายคตาสติภายใน
ตน กำหนดธาตุทั้ง 4 มีปฐวีธาตุเป็นต้น ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง
คือด้วยอาการหนึ่งในอาการ 4 มีสสัมภารสังเขปเป็นต้น ปรากฏโดยการ
กำหนคอนิจจลักษณะเป็นต้นของธาตุเหล่านั้น เป็นสติอันสัมปยุตด้วย
วิปัสสนา ท่านประสงค์เอาว่า กายคตาสติ. ก็พระเถระเห็นแจ้งอย่างนั้น
จึงนั่งเข้าผลสมาบัติของตนเท่านั้น. แม้ในที่นี้ ความที่เนื้อความแห่งพระ-
คาถานี้จะรู้แจ้งได้อย่างนั้น พึงประกอบตามแนวแห่งนัยที่กล่าวไว้โดยนัย
ว่า น จายํ นิสชฺชา ก็การนั่งนี้มิใช่. . . ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า เอตมตฺถํ ความว่า ทรงทราบอรรถนี้ กล่าวคือการที่พระ-
เถระเจริญวิปัสสนาในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยการกำหนดธาตุ 4
เป็นประธานแล้วจึงเข้าผลสมาบัติ. บทว่า อิมํ อุทานํ ความว่า ทรงเปล่ง
อุทานนี้ อันแสดงการบรรลุพระนิพพานด้วยสติปัฏฐานุภาวนา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สติ กายคตา อุปฏฺฐิตา ความว่า สติ
มีลักษณะดังกล่าวแล้วในกาลก่อน ชื่อว่าละธรรมอันเป็นปฏิปักษ์เสียได้
เพราะถึงภาวะที่ช่วยในการทำกิจของสมาธิ วิริยะ และปัญญาซึ่งมีศรัทธา
เป็นตัวนำให้สำเร็จตามหน้าที่ของตน แต่นั้นเป็นความสละสลวยอย่างแรง
ที่เดียว เข้าไปกำหนดสภาวะที่ไม่ผิดแผกด้วยอำนาจกายสังวร ตามที่กล่าว
แล้ว และด้วยอำนาจการรวมอรรถไว้เป็นอันเดียวกันตั้งอยู่. ด้วยคำนี้
ทรงแสดงถึงสติอันไป ๆ มา ๆ อยู่กับปัญญา ซึ่งกำหนดปัจจัยทั้งหลาย ด้วย
การกำหนดธาตุ 4 กล่าวคือกาย และอุปาทารูปที่อาศัยธาตุ 4 นั้น ต่อ
แต่นั้น จึงเป็นไปด้วยอำนาจกำหนดปัจจัยเหล่านั้น โดยเป็นอนิจจลักษณะ

เป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง เมื่อว่าโดยยกสติขึ้นเป็นประธาน จึงทรงแสดง
เฉพาะการสืบๆ กันมา แห่งปัญญาอันนับเนื่องในปริญญา 3 อันสัมป-
ยุตด้วยสตินั้น. บทว่า ฉสุ ผสฺสายตเนสุ สํวุโต ความว่า พระโยคีผู้
ประกอบด้วยความเป็นผู้มีสติปรากฏในกายตามที่กล่าวแล้ว จึงปฏิเสธ
ความเป็นไปแห่งปัญญา เพราะเมื่อไปเจริญกายานุปัสสนาในทวารทั้ง 6
มีจักขุทวารเป็นต้น อันเป็นเหตุแห่งผัสสะ อภิชฌาเป็นต้นที่ควรจะเกิด
ก็เกิดขึ้น เมื่อจะปิดกั้นอภิชฌาเป็นนั้น จึงตรัสเรียกว่า ผู้สำรวมใน
ทวาร 6 มีจักขุทวารเป็นต้นนั้น. ด้วยคำนั้น ทรงแสดงถึงญาณสังวร.
บทว่า สตตํ ภิกฺขุ สมาหิโต ความว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏแล้ว
อย่างนั้นและสำรวมแล้วในทวารทั้งปวง ไม่ปล่อยจิตไปในอารมณ์อันมาก
หลาย พิจารณาโดยอนิจจลักษณะเป็นต้น เจริญวิปัสสนา เมื่อญาณแก่กล้า
ดำเนินไปอยู่ ก็มีจิตตั้งมั่นด้วยสมาธิอันสัมปยุตด้วยวิปัสสนา เป็นไปติดต่อ
ไม่ขาดระยะทีเดียว ตั้งแต่ลำดับอนุโลมญาณจนถึงเกิดโคตรภูญาณ. บทว่า
ชญฺญา นิพฺพานมตฺตโน ความว่า พระนิพพานอันเป็นอสังขตธาตุนำมา
ซึ่งความสุขอย่างแท้จริง โดยเป็นอารมณ์อันดีเยี่ยมแก่มรรคญาณและผล-
ญาณ ซึ่งได้บัญญัติว่า อัตตา เพราะไม่เป็นอารมณ์ของปุถุชนอื่น แม้โดย
ที่สุดความฝัน แต่เพราะเป็นแผนกหนึ่งแห่งมรรคญาณและผลญาณนั้น ๆ
ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และเพราะเป็นเช่นกับอัตตา จึงเรียกว่า อตฺตโน
ของตน พึงรู้คือพึงทราบพระนิพพานนั้น อธิบายว่า พึงรู้แจ้ง คือ พึง
ทำให้แจ้งด้วยมรรคญาณและผลญาณทั้งหลาย. ด้วยคำนั้น ทรงแสดงถึง
ความที่พระอริยเจ้าทั้งหลายมีจิตน้อมไปในพระนิพพาน. จริงอยู่ พระ-

อริยะเจ้าทั้งหลายย่อมอยู่ แม้ในเวลาที่อธิจิตเป็นไป ก็อยู่โดยภาวะที่น้อม
โน้มโอนไปในพระนิพพานโดยส่วนเดียวเท่านั้น. ก็ในที่นี้ สติเป็นไปใน
กายปรากฏแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นสำรวมแล้วในผัสสายตนะ 6 ต่อแต่นั้น
ก็มีจิตตั้งมั่นเนือง ๆ พึงรู้พระนิพพานของตน ด้วยการกระทำให้ประจักษ์
แก่ตน พึงทราบการเชื่อมบทแห่งคาถาอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าเป็นธรรมราชา ทรงแสดงทางเป็นเครื่องนำออกของภิกษุรูป
หนึ่ง โดยมุข คือกายานุปัสสนาสติปัฏฐานจนถึงพระอรหัตด้วยประการ
ฉะนี้. อีกนัยหนึ่ง ด้วยบทว่า สติ กายคตา อุปฏฺฐิตา นี้ ทรงแสดงถึง
กายานุปัสนาสติปัฏฐาน. บทว่า ฉสุ ผสฺสายตเนสุ สํวุโต ความว่า
ชื่อว่า ผัสสายตนะ เพราะเป็นที่มาต่อ คือเป็นเหตุแห่งผัสสะ ในผัสสาย-
ตนะเหล่านั้น. ชื่อว่าสำรวมแล้ว เพราะตัณหาเป็นต้นไม่เป็นไปในเวทนา 6
มีจักขุสัมผัสสชาเวทนาเป็นต้น อันมีผัสสะเป็นเหตุ คือเกิดขึ้นเพราะผัสสะ
เป็นปัจจัย ด้วยคำนั้น ทรงแสดงถึงเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน. บทว่า
สตตํ ภิกฺขุ สมาหิโต ความว่า ภิกษุชื่อว่าตั้งมั่นติดต่อตลอดกาลเป็นนิตย์
ไม่มีระหว่างคั่น เพราะไม่มีความฟุ้งซ่าน ก็ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
เพราะถึงที่สุดด้วยสติปัฏฐานภาวนา โดยประการทั้งปวง. จริงอยู่ เมื่อเธอ
พิจารณากำหนดได้อย่างเด็ดขาดทีเดียว ในอุปาทานขันธ์ 5 อันต่างโดย
ประเภทแห่งกาลมีอดีตกาลเป็นต้นแล. ด้วยคำนี้ ทรงแสดงถึงสติปัฏฐาน
ที่เหลือ. บทว่า ชญฺญา นิพฺพานมตฺตโน ความว่า ภิกษุผู้ทำลายกิเลส ถึง
ที่สุดแห่งสติปัฏฐานภาวนาทั้ง 4 ดำรงอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ตนเอง
นั่นแหละ พึงรู้กิเลสนิพพานของตนด้วยปัจจเวกขณญาณ.

อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทว่า สติ กายคตา อุปฏฺฐิตา นี้ ทรงแสดงถึง
ความที่พระเถระเป็นผู้ถึงความไพบูลย์ด้วยสติ ด้วยการแสดงถึงการกำหนด
รู้ตามสภาวะแห่งกายของตนและของคนอื่น. ด้วยบทว่า ฉสุ ผสฺสายต-
เนสุ สํวุโต
นี้ ทรงแสดงถึงการที่พระเถระถึงความไพบูลย์ด้วยปัญญา
อันประกาศถึงสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการอยู่ด้วยความสงบเป็นต้น
อันแสดงถึงความสำรวมอย่างแท้จริง ในทวาร 6 มีจักขุทวารเป็นต้น.
ด้วยบทว่า สตตํ ภิกฺขุ สมาหิโต นี้ ทรงแสดงอนุบุพพวิหารสมาบัติ 9
โดยแสดงถึงความเป็นผู้มากด้วยสมาบัติ. ก็ภิกษุผู้เป็นอย่างนี้ พึงรู้
นิพพานของตน
คือ พึงรู้ พึงคิดถึงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุของตน
อย่างเดียวเท่านั้น เพราะไม่มีกรณียกิจอันยิ่ง เพราะทำกิจเสร็จแล้ว
อธิบายว่า แม้กิจอื่นที่เธอจะพึงคิดก็ไม่มี.
จบอรรถกถาโกลิตสูตรที่ 5

6. ปิลินทวัจฉสูตร



ว่าด้วยวาทะว่าคนถ่อย



[78] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลัน-
ทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระปิลินทวัจฉะ
ย่อมร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่าคนถ่อย ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วย
กัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่